วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พระปรกโพธิ์เชียงแสน สนิมแดง


พระปรกโพธิ์เชียงแสน สนิมแดง 
พระเชียงแสนเป็นพระสนิมแดงตระกูลหนึ่งที่น่าเสาะหาไว้ อายุการสร้างเก่าแก่ หลายๆร้อยปี 
ลักษณะของพระเครื่อง องค์ค่อนข้างเขื่องใหญ่กว่าพระเครื่องทั่วๆไป และมีความหนาทีเดียว 
องค์พระจะสร้างด้วยตะกั่ว แล้วเกิดสนิมแดง มีแซมด้วยไขขาว เป็นพระที่ทรงคุณค่างานพุทธศิลป์ 
ราคายังไม่สูงจนเกินไปนัก ราวๆ หลักพันปลายๆ ถึงหมื่นต้นๆ เป็นพระกรุดีแห่งเมืองเหนือทีเดียว 

พระเชียงแสนเป็นพระซุ้มร่มโพธิ์ ผู้บูชาจะประสบแต่ความร่มเย็นเป็นสุข พระเชียงแสนนี้เป็น พระกรุสนิมแดงที่มีคุณค่า ราคาไม่แพงเกินไปนัก ผู้สนใจสะสมพระกรุสนิมแดง น่ามีไว้ศึกษาเป็นพื้นฐาน ก่อนการสะสมพระสนิมแดง ที่มีค่านิยมแพงๆในกาลต่อไป



พระปรกโพธิ์เชียงแสน สนิมแดงลักษณะสนิมแดง จะต้องมีสีแดงแบบลูกหว้า
สนิมแดงจากเนื้อในพระ มีแซมด้วยไขขาว

องค์นี้เป็นพิมพ์บัวตุ่มสองชั้น สภาพสวย แดง สมบูรณ์ดูง่าย มีปิดทองเดิมๆให้ศึกษา



วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน วัดพะโคะ พิมพ์เล็ก


พระหลวงพ่อทวด เนื้อว่าน วัดพะโคะ พิมพ์เล็กสำหรับองค์ที่โชว์นี้เป็น พิมพ์เล็ก(นิยม) สภาพสวยผิวเดิมๆ ไม่ผ่านการใช้ มีหน้ามีตาติดชัด เห็นเส้นหน้าผากชัดเจน กดมาได้เต็มฟอร์มสวย เจดีย์ด้านหลังติดชัด ตั้งตรง คราบว่านขึ้นทั้งองค์ เป็นองค์ที่สวยมากแล้ว ในสภาพปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พระกริ่งมหาสิทธิโชค วัดประสาทบุญญาวาส พิมพ์หน้าเล็ก โค้ดสามง่าม


พระกริ่งมหาสิทธิโชค หรือพระกริ่งวัดประสาท
พระกริ่งนี้จัดสร้างโดยพระครูสมุหอำพล เจ้าอาวาสวัดประสาทบุญญาวาส สามเสน กรุงเทพฯในขณะนั้น ท่านสร้างในราวๆ ปีพ.ศ. 2506-2508 โดยดำเนินการสร้างแบบพิธีใหญ่เช่นนี้ทุกๆปีติดต่อกันเรื่อยมา และจะพบว่าราวๆช่วงนี้ พระหลวงพ่อทวด วัดประสาท ก็ได้ถือกำเนิดมาเช่นกัน
สำหรับพระกริ่งก็ถือว่าได้ถือกำเนิดมาในช่วงใกล้กัน ซึ่งองค์พระกริ่ง จะมีขนาด 2.0 x 3.8 ซม. โดยประมาณ

มวลสาร 
ประกอบด้วยชนวนโลหะจาก อาจารย์เทพ สาริกบุตร ซึ่งล้วนเป็นชนวนพระกริ่งวัดสุทัศน์หลายๆรุ่นที่อาจารย์เทพท่านเก็บสะสมไว้หลายปี และชนวนโลหะจากพระเกจิอาจารย์ดังๆ ทั่วประเทศที่สำคัญอีกมากมาย 

การปลุกเสก 
เป็นพิธีรวมเกจิอาจารย์หมู่มากกว่า 200 รูป เรียกว่าปลุกเสก จนพระล้นออกไปจากอุโบสถวัดเลยทีเดียว ซึ่งทำพิธีพุทธาภิเษก โดยนิมนต์พระดังทุกวัดในประเทศไทยขณะนั้นมาร่วมปลุกเสกอันได้แก่ ......... 
... พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ 
... หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน 
... หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ 
... หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา 
... หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี 
... หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ 
... หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ 
... หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม 
... หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
... หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค 
... หลวงพ่อทบ วัดชนแดน 
... หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ 
... หลวงปู่เขียว วัดหรงบน 
... หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก 
... หลวงปู่ดู่ วัดสะแก 
... หลวงปู่สี วัดสะแก 
... หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง 
... หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ 
... หลวงปู่หิน วัดระฆังฯ 
... หลวงพ่อโบ๊ย วัดมะนาว 
... พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา 
... หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา 
... หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ 
... หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม 
... หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง 
... หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน 
... หลวงพ่อเหรียญ วัดบางระหงส์ 
... หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว 
... หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ 
... หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิษฐ์ 
... หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ 
... หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด 
....หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม 
... หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน 
... หลวงพ่อสุด วัดกาหลง 
... หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี 
... หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง 
... หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม 
... หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว 
... หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์ 
... หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพิ์นิมิตร 
... เจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์ 
... เจ้าคุณประหยัด วัดสุทัศน์ 
... หลวงพ่อดี วัดเหนือ 
... หลวงพ่อแขก วัดหัวเขา 
... หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด 
... หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง 
... หลวงพ่อมิ่ง วัดกก 
... หลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่าฯ 
... หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม 
... หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ 
... หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช 
... หลวงพ่อสอน วัดสิงสาง 
... หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน 
... หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์ 
... หลวงพ่อนิล วัดครบุรี 
... หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา 
... หลวงพ่อบุดดา วัดกลางชูศรี 
... หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา 
และเกจิท่านอื่นๆอีก รวมแล้วกว่า 200 รูป......... 

พุทธลักษณะ 
พระกริ่งมหาสิทธิโชค นี้ เป็นพระกริ่งที่ถอดแบบมาจาก พระกริ่งปวเรศ วัดบวรนิเวศนั่นเอง และมีการ
ตกแต่งพิมพ์ไม่ให้เหมือนกัน โดยเพิ่มความคมชัดกว่า แล้วส่วนใหญ่พระกริ่งรุ่นนี้จะมีการตอกโค๊ดวัชระ 
หรือ โค้ดสามง่าม เอาไว้ด้านหลังด้วย

กระแสโลหะ 
เป็นโลหะผสม จะออกทองแดง เพราะพระรุ่นนี้มีกระแสแก่ทองแดงนั่นเอง 
(ดังนั้นการสะสมพระรุ่นนี้ ควรหาแบบเนื้อแดงไว้ก่อน)

ราคาค่านิยม 
อยู่ในราวหลักพันต้นๆ ถึงกลาง (องค์สวยๆ เนื้อจัดๆ อาจจะแพงมากกว่านี้) อายุการสร้างก็หลายสิบปีแล้ว พิธีสร้างเยี่ยมเป็นแบบปลุกเสกหมู่รวมเกจิชั้นยอด ชนวนโลหะสุดยอด ตอนนี้ยังว่ายังไม่แพง แต่อีกหน่อยไม่แน่ครับ 
 

พระรุ่นนี้ มีของเทียมถอดแบบออกมานานแล้ว ฝีมือการเทหล่อทำได้ดี แต่ผิวพระตึงและยังสด การสะสมนั้น ควรจะต้องดูพิมพ์ ผิวพระแห้งหมอง ถ้าจะดีให้หาแบบเนื้อแดงไว้ก่อน แล้วโค้ดวัชระ จะต้องเป็นร่องสามง่าม เป็นแอ่งโค้งแบบแอ่งคลองถึงจะดี 

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พระร่วงปางเปิดโลก พิมพ์ใหญ่ กรุเก่า วัดอรัญญิก

พระร่วงปางเปิดโลก พิมพ์ใหญ่นิยม กรุเก่า วัดอรัญญิก
พระกรุวัดอรัญญิก 
กรุวัดอรัญญิก เป็นพระกรุชื่อดัง กรุหนึ่ง ในจังหวัดพิษณุโลก เพราะพระกรุนี้
มีพระเนื้อชิน จำพวก พระตระกูลซุ้มเสมา แตกออกมามากมายหลายสิบพิมพ์ 
ทำให้เรามักได้ยินชื่อเรียกติดปากว่า ซุ้มอรัญญิก เมืองพิษณุโลก

พระกรุนี้มี พระเนื้อดิน แตกออกมาอีกจำนวนมากพอสมควร มีหลากหลายพิมพ์ด้วยกัน
แต่ในบรรดาเนื้อดินนั้นพิมพ์พระร่วงปางเปิดโลก จะเป็นพิมพ์นิยมอันดับต้นๆของกรุ
ซึ่งปกติพิมพ์พระจะไม่ค่อยสวยเท่าไรนักพระกรุนี้มีแตกออกมาหลายครั้งพระแตกกรุ 
ยุคแรกๆเรียก พระกรุเก่า เนื้อหาจะจัดมากกว่ากรุใหม่


สำหรับพระองค์นี้ เป็น พระร่วงปางเปิดโลก พิมพ์ใหญ่ กรุเก่า วัดอรัญญิก
ด้านหน้าพิมพ์ทรง คมชัด ด้านหลังมีรอยลายนิ้วมือผู้กดพิมพ์ และมีราดำ กระจายอยู่ทั่ว
เนื้อหาจะจัดมาก เข้ม ดูมันส์ เป็น
พระสวยที่สุดในกรุ ระดับแชมป์โลก 
ที่หาได้ยากทีเดียว